ThaiEnglish (UK)

จักรพรรดิหวงตี้ (Huang Di or huang ti) หรือจักรพรรดิเหลือง the yellow emperor เป็นปฐมกษัตริย์จีน ในตำนานจีนองค์แรกเมื่อราว 4,600 ปีก่อนที่เป็นผู้ให้กำเนิดการแพทย์จีน และเป็นผู้ริเริ่มการใช้สมุนไพรเพื่อรักษาโรคเป็นคนแรก จักพรรดิหวงตี้ (Huang Di) ยังเป็นผู้ริเริ่มร่วมกับแพทย์ในราชสำนักถกปัญหาวิชาความรู้ทางการแพทย์ วิธีรักษา รวมทั้งการเขียนใบสั่ง ยา เพื่อร่างบันทึกเป็นตำราแพทย์

คัมภีร์ "หวงตี้เน่ยจิง"
黄帝内经

คนคือรากฐาน...โรคคือปรากฏการณ์
คัมภีร์ "หวงตี้เน่ยจิง"(黄帝内经)

มองว่าโรคเป็นผลพวงของการดำเนินชีวิต รูปแบบวิถีของชีวิตในหลายๆด้านที่ไม่ถูกต้อง ที่สะสมพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นเงื่อนไขพื้นฐานของการจะหายจากโรคได้หรือไม่ (โดยเฉพาะโรคเรื้อรัง)จึงอยู่ที่ตัวผู้ป่วยเองที่จะยอมเปลี่ยนแปลงปัจจัยต่างๆที่เป็นโทษ,รวมทั้งความเคยชินในการดำเนินชีวิตที่ไม่ถูกต้องในอดีต หันสู่แนวทางธรรมชาติเพื่อสร้างพื้นฐานใหม่ให้กับร่างกาย

คนเราจะเกิดความทุกข์เวลาเจ็บไข้ได้ป่วยไม่สบายคิดอยู่อย่างเดียวว่าทำอย่างไรจึงจะหายจากโรค ฝากความหวังไว้กับหมอกับยาเป็นหลัก สำหรับแพทย์แผนจีนแล้วการรักษาโรคคือปัจจัยรอง ไม่ใช่ปัจจัยหลัก ปัจจัยหลักคือการรักษาคน แนวคิดสำคัญเกี่ยวว่า
"คนคือรากฐาน โรคคือปรากฎการณ์"
(人为本,病为标)
การปรับสมดุล คือ การดำเนินตามกฎเกณฑ์แห่งธรรมชาติ ทำให้ถึงจุดที่เรียกว่าเป็นไปตามกฎเกณฑ์แห่งฟ้า "因天之序" นั่นคือการปรับเปลี่ยนที่ตัวคน ซึ่งเป็นหลักสำคัญ ไม่ใช่การมุ่งเน้นที่จะไปปรับเปลี่ยนโรค(พยาธิสภาพ)เพียงอย่างเดียว

การประยุกต์ใช้ยาจีนแผนโบราณ กับ 1891 ช้อนเงินโอสถ

การใช้ยาจีนแผนโบราณมีประวัติมายาวนาน และก็มีบทบาทสำคัญยิ่งต่อการพัฒนาและเจริญเติบโตของประชาชาติจีน จนถึงปัจจุบัน ยาจีนแผนโบราณก็ยังมีฐานะสำคัญในการรักษาดูแลสุขภาพของประชาชน ทฤษฎีและประสบการณ์ในการใช้ยาสมุนไพรจีนนั้น ได้สะท้อนให้เห็นถึงลักษณะพิเศษของวัฒนธรรมจีน ยาจีนส่วนใหญ่ได้มาจากยาธรรมชาติ มีผลข้างเคียงน้อย นำไปใช้ในการรักษาโรคได้หลายอย่าง และยาจีนมักจะใช้ยาหลายชนิดผสมเข้าด้วยกัน ด้วยการผสมยาที่สมเหตุสมผล ทำให้สามารถใช้รักษาโรคที่รักษายากและให้ได้ผลมากขึ้น อีกทั้งยังสามารถลดผลข้างเคียงให้น้อยลงด้วย
การประยุกต์ใช้ยาจีนแผนโบราณถือทฤษฎีแพทย์แผนโบราณจีนเป็นพื้นฐาน และถือผลที่ได้มาจากการรักษาโรคด้วยยาชนิดต่างๆเป็นหลักฐาน ผลการรักษาด้วยยาจีนกำหนดโดยสรรพคุณหรือลักษณะของตัวยา สรรพคุณของยาจีนที่สำคัญมีลมปราณ(ชี่) 4 และกลิ่น 5 (หนาว ร้อน อุ่น เย็นและเปรี้ยว ขม หวาน เผ็ดเค็ม) การเพิ่มขึ้นลดลง การลอยสู่ผิวการจมลงลึก การคืนพลังและความเป็นพิษ เพื่อใช้ยาจีนอย่างมีผลและปลอดภัย ต้องเข้าใจรับรู้ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการผสม ข้อต้องห้าม ปริมาณที่ใช้ วิธีรับประทานและการปรับยาของยาจีนแผนโบราณ การผสมยาคือการเลือกใช้ยาหลายชนิด ผสมเข้าด้วยกันตามสภาวะโรคและสรรพคุณของยาที่แตกต่างกัน ข้อต้องห้ามคือ ข้อต้องห้ามในด้านการผสมยา ข้อต้องห้ามในช่วงตั้งครรภ์ ข้อห้ามในอาหารการกิน และ ข้อต้องห้ามเกี่ยวกับอาการโรค ปริมาณที่ใช้คือปริมาณของตัวยาที่ใช้ในการรักษาพยาบาล ซึ่งรวมทั้ง ยาชนิดเดียวและปริมาณของยาสำเร็จรูปสำหรับผู้ใหญ่และเด็กรับประทานต่อวัน และก็รวมทั้งสัดส่วนของยาชนิดต่างๆในยาแต่ละชนิด ซึ่งทุกอย่างได้รวมกันมาเป็น ผลิตภัณฑ์ยาจีนแผนโบราณ1891ช้อนเงินโอสถ ซึ่งเป็นโรงงานผลิตยาคุณภาพแผนโบราณ กำกับและดูแลอย่างใส่ใจ และใกล้ชิดทุกขบวนการผลิตโดยแพทย์แผนโบราณจีนเจ้าของตำรับและเภสัชแผนโบราณ ที่สืบทอดประสบการณ์การผลิตยาจีนแผนโบราณที่มีมาแต่ดั้งเดิมสมัยโบราณกาล สมุนไพรจีนแต่ละชนิดที่ผสมอยู่ในยาจีนแผนโบราณนั้น มีบทบาทที่แตกต่างกันออกไป  คือสมุนไพรจีนที่ทำหน้าที่เป็น “ตัวยาหลัก”สมุนไพรจีนที่ทำหน้าที่เป็น “ตัวยาประกอบ”สมุนไพรจีนที่ทำหน้าที่เป็น “ตัวควบคุมการทำงานของระบบในร่างกาย”สมุนไพรจีนที่ทำหน้าที่เป็น “ตัวยาเสริม สมุนไพรที่ทำหน้าที่ปรับสมดุลร่างกาย”ดังนั้น  วิถียาแผนโบราณจีนยังคงเดินทางสืบเนื่องต่อไป หากแต่ ได้ถูกนำมาใช้โดยคนรุ่นใหม่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อเพื่อนมนุษย์   ในการที่จะนำพาให้มนุษย์ทุกคนสามารถดูแลสุขภาพตนเอง และพึ่งพาตนเองได้  ด้วยวิถีที่เป็นมิตรกับร่างกายสืบต่อไปนานเท่านานและก็รวมทั้งสัดส่วนของยาชนิดต่างๆในยาแต่ละชนิดซึ่งทุกอย่างได้รวมกันมาเป็น ผลิตภัณฑ์ยาจีนแผนโบราณ1891ช้อนเงินโอสถ ซึ่งเป็นโรงงานผลิตยาคุณภาพแผนโบราณ กำกับและดูแลอย่างใส่ใจ และใกล้ชิดทุกขบวนการผลิตโดยแพทย์แผนโบราณจีนเจ้าของตำรับและเภสัชแผนโบราณ ที่สืบทอดประสบการณ์การผลิตยาจีนแผนโบราณที่มีมาแต่ดั้งเดิมสมัยโบราณกาล สมุนไพรจีนแต่ละชนิดที่ผสมอยู่ในยาจีนแผนโบราณนั้น มีบทบาทที่แตกต่างกันออกไป  คือสมุนไพรจีนที่ทำหน้าที่เป็น “ตัวยาหลัก”สมุนไพรจีนที่ทำหน้าที่เป็น “ตัวยาประกอบ”สมุนไพรจีนที่ทำหน้าที่เป็น “ตัวควบคุมการทำงานของระบบในร่างกาย”สมุนไพรจีนที่ทำหน้าที่เป็น “ตัวยาเสริม สมุนไพรที่ทำหน้าที่ปรับสมดุลร่างกาย”ดังนั้น  วิถียาแผนโบราณจีนยังคงเดินทางสืบเนื่องต่อไป หากแต่ ได้ถูกนำมาใช้โดยคนรุ่นใหม่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อเพื่อนมนุษย์   ในการที่จะนำพาให้มนุษย์ทุกคนสามารถดูแลสุขภาพตนเอง และพึ่งพาตนเองได้  ด้วยวิถีที่เป็นมิตรกับร่างกายสืบต่อไปนานเท่านาน

อาการปวดไหล่ หรือปวดศีรษะ อันเนื่องมาจากเลือดคั่ง  ไม่ใช่แค่ปัญหาของปัจจุบันเท่านั้น แต่อาจเป็นสัญญาณเตือนล่วงหน้าของโรคเรื้อรัง  เช่น เส้นเลือดแดงตีบตัน หรือเส้นเลือดในสมองตีบตัน  ที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต

อาการปวดหน้าอก คอ แขน ขากรรไกร ไหล่ซ้าย อาจเกี่ยวเนื่องกับโรคหัวใจได้  หรือ กล้ามเนื้อหัวใจที่ผนังด้านล่างขาดเลือด

อาการปวดหลัง ปวดหลังส่วนล่าง หรือ ระหว่างสะบัก นอกจากเป็นสัญญาณเตือนของข้ออักเสบ กล้ามเนื้ออักเสบ แล้ว ยังเป็นสัญญาณเตือนของโรคหัวใจ และโรคที่อันตรายอีกอย่างหนึ่งคือ เส้นเลือดใหญ่ที่ออกมาจากหัวใจมีการแยกชั้น

อาการปวดท้องรุนแรง มักมีสาเหตุจาก กระเพาะอาหารทะลุ ตับอ่อนอักเสบ ลำไส้อุดตัน ถุงน้ำดีอักเสบ

อาการปวดขา (บริเวณน่อง) สาเหตุเกิดได้จาก เส้นเลือดดำ หรือ แดง อุดตัน และอาจเกิดอันตรายจากก้อนเล็กๆที่อุดตันนั้นหลุดไปอุดที่อื่น เช่น เส้นเลือดที่ปอด ทำให้เป็นอันตรายถึงชีวิตได้

อาการปวดเท้า ร้อนที่เท้าและขา บ่งชี้ว่าเส้นประสาทที่เท้าเกิดความเสียหาย และอาจก่อให้เกิดเท้าเน่าได้โดยไม่รู้ตัว

ปวดแปลกๆ ที่อธิบายไม่ได้  อาการต่างๆดังที่กล่าวมา ตรงนี้เอง ที่ยาแผนโบราณจีน  สามารถช่วยรักษาอาการให้หายได้ในขั้นตอนก่อนเกิดโรค และเป็นการป้องกันไม่ให้อาการเหล่านั้นกำเริบขึ้นกลายเป็นโรคร้ายแรงจนถึงขั้นเสียชีวิตในอนาคต       จึงจะเห็นได้ว่า “ยาแผนโบราณจีน นั้นนอกจาก ช่วยรักษาโรคที่เกิดขึ้น  แล้วยังมีสรรพคุณในการป้องกันก่อนเกิดโรคร้ายด้วย”  เพราะฉะนั้นเราควรเริ่มดูแลสุขภาพ ตั้งแต่ยังไม่เกิดโรค เพื่อป้องกันการเกิดโรคเรื้อรัง หรือโรคร้ายที่จะตามมา โดยไม่เป็นภาระของคนรอบข้าง

....... คนที่ยากแก่การรักษา หรือรักษาแล้วไม่ค่อยได้ผล.......

  1. คนที่เย่อหยิ่ง ไม่มีเหตุผล (骄恣不论于理)ยากที่จะแนะนำ ในการปรับปรุงตนเองเพื่อลดการเกิดโรค
  2. คนที่ไม่สามารถปรับปรุงตัวในการกินอยู่และการดำเนินชีวิตให้เหมาะสม(衣食不能适)เหล่านี้จะแนะนำการกิน, การนอน, การปฎิบัติตัวอะไร ก็ไม่ยอมแก้ไข ขอตามใจตัวเองลูกเดียว
  3. คนที่รักเงินมากกว่ารักชีวิต(ให้ความสำคัญกับเงินมากกว่าสุขภาพ 轻身重财)มีคนที่มีฐานะทางเศรษฐกิจจำนวนมากยอมเสียเงินทองในการใช้จ่ายที่ฟุ่มเฟือยเพื่อความสบายทางกายและใจ แต่ไม่ยอมลงทุนเพื่อสุขภาพ บางคนมีแต่สะสมเงินทองแต่ไม่ยอมใช้จ่ายเงินในการรักษาตนเอง
  4. คนที่ร่างกายทรุดโทรมมากและไม่ยอมทานยา   ดื้อ เพราะคิดว่าร่างกายตัวเองแข็งแรง
  5. คนที่ทั้งยินหยาง,พลังของอวัยวะภายในเริ่มไม่สามารถควบคุมได้ (阴阳并,脏气不定)

การสืบทอดความรู้เรื่องยาจีนรุ่นต่อรุ่น